‘12 Lotus’ : Lotus Petals of Singapore
‘12 Lotus’ คือชื่อเพลง Getai1 ที่มีเนื้อร้องเป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน (Hokkien) คำว่า ’Lotus’ (蓮花 หรือ Lian Hua) หมายถึงดอกบัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาสื่อถึงความบริสุทธิ์ และบทเพลง ’12 Lotus’ ได้นำดอกบัวบริสุทธิ์นี้มาถ่ายทอดช่วงชีวิต
ว่าไม่สวยงาม มันโหดร้ายและน่าสงสารสำหรับชีวิตที่เลือกไม่ได้นี้โดยแบ่งออกเป็นสิบสองช่วง ภาพยนตร์เรื่อง ‘12 Lotus’ ผ่านการกำกับของ Royston Tan ก็ได้นำเสนอดอกบัวในบทเพลงผ่านตัวละครที่ชื่อว่า Liu Lian Hua (แปลว่า ดอกบัว) ภาพยนตร์สัญชาติสิงคโปร์
เรื่องนี้สื่อสารผ่านดอกบัวสีชมพูที่ภายนอกดูงดงามนี้ด้วยเพลง Getai ’12 Lotus’ และตัวละคร Lian Hua ไว้อย่างแยบยล
เบื้องหน้าของภาพยนตร์ ’12 Lotus’ ที่เห็นผ่านจอเงินนั้นเป็นช่วงเวลาตั้งแต่ปี 1980s จนถึงปัจจุบัน สภาพบ้านเมืองในสิงคโปร์เปลี่ยนแปลงและเจริญไปมาก กลีบดอกบัวเริ่มเปลี่ยนสีและคอยเวลาผลิให้เห็นเนื้อใน เพลง “12 Lotus’ ในโรงแสดง Getai จุดประกายให้ Lian Hua อยากร้องเพลง ‘12 Lotus’ นี้ให้กวนอิม2ที่เชื่อกันว่ามีเมตตาและจะช่วยให้ได้สมความปรารถนา เมื่อเธอโตขึ้น เธอได้เป็นนักร้อง Getai คืนหนึ่งเธอได้ร้องว่า ‘Life is great’ ซึ่งเป็นท่อนที่สองของ ‘12 Lotus’ เธอดีใจที่ชีวิตเธอเป็นเช่นนี้ได้ แต่หารู้ไม่ว่าชีวิต
เบื้องหน้าต่อจากนี้ของ Lian Hua กำลังเปลี่ยนไปอย่างโหดร้ายเป็นไปตามบทเพลง ‘12 Lotus’ ในท่อนต่อ ๆ ไป
Lian Hua เป็นตัวละครที่มีแง่มุมหลายชั้นเหมือนกลีบบัวที่สามารถสะท้อนความเป็นประเทศสิงคโปร์ได้ อย่างกลีบแรก
Lian Hua มีปมในใจจากการกำพร้าแม่ เธอมีครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ พ่อเลี้ยงดูปลูกฝังอย่างลูกคนจีนและใช้ภาษาจีนฮกเกี้ยนใน
การสื่อสาร พ่อสอนเธอว่า ‘Without pain, there’s no love. Without love, there’s no pain.’ กลีบนี้สะท้อนถึงวัฒนธรรมและสายเลือดของชาวสิงคโปร์ที่มีความเป็นจีนอยู่มาก สังเกตได้จากการมีประชากรชาวจีนว่า 3 ใน 4 ของประเทศสิงคโปร์ ‘พ่อตีเพราะพ่อรัก’ ทำให้กลีบถัดมา คือบุคลิกของ Lian Hua เธอเป็นคนระแวง หวาดกลัวและประหม่าง่าย สิ่งเหล่านี้เป็นปมในใจที่เธอสร้างขึ้นมา นอกจากนี้
เธอยังมีปมที่เกิดขึ้นจากสังคมและสิ่งที่เธอพบเจอ ความรุนแรงจากพ่อ จากชายที่เธอรักและการข่มขืนทำร้ายร่างกาย (Abuse)
จากคนไม่ดี ประกอบกับสภาพสังคมรอบตัวทำให้ Lian Hua แปลกแยก ไม่มีเพื่อนและโดดเดี่ยว (Isolation and Alienation) ปมในใจ
ทั้งสองนี้สะท้อนสิ่งที่สิงคโปร์พบเจอมา อย่างการถูกล่าอาณานิคม การถูกยึดครองเป็นเมืองขึ้น3 ความรุนแรงจากสงครามในอดีตเป็น
ปมในใจชาวสิงคโปร์ อย่างการที่สิงคโปร์ถูกเป็นศูนย์กลางให้อังกฤษทางการค้าและทางทหาร (Abuses the economic success as a justification for undemocratic intervention) สาธารณรัฐสิงคโปร์จึงเป็นประเทศพื้นที่เล็ก ๆ โดดเดี่ยวท่ามกลางนานาประเทศใหญ่ ๆ และปัญหาต่าง ๆ รายล้อมอยู่
นอกจากกลีบในหัวข้อ Isolation and Alienation จากสังคมแล้ว กลีบของการถูกกระทำด้วยความรุนแรง(Violence) ของ
Lian Hua จากผู้ชาย เพศหญิงจึงเป็นที่รองรับของผู้ชาย ซึ่งแสดงถึงการเป็นวัตถุทางเพศ (Sex object) สังคมหรือสิ่งที่พบเจอมีอิทธิพลสำคัญต่อสภาพจิตใจของ Lian Hua การถูกข่มขืน (Abuse) ทำให้เธอเก็บตัวและติดการกิน cream crackers จำนวนมากมากว่ายี่สิบปี ตลอดจนเธอเชื่อในเทพีแห่งความเมตตาหรือก็คือเจ้าแม่กวนอิม สิ่งเหล่านี้ได้สะท้อนถึง National Psyche คือการเป็นชาติใหม่ของสิงคโปร์ หลังจากสิงคโปร์พลักดันตัวเองเป็นอิสระ(Independence) ในปีค.ศ. 1964 ได้สำเร็จ แต่สภาพจิตใจยังคงกังวล ไม่มั่นใจ (Nervous sense of the fragility of its achievements) และหาที่พึ่งพาจิตใจ หรือก็คือการอยู่ได้ด้วยความหวัง
ไม่เพียงแต่ความรุนแรงดังกล่าวทำร้าย Lian Hua แต่สิ่งที่ทำร้ายเธอที่สุดมาโดยตลอดคือเงินตรา (Monetary item) ซึ่งทำให้ชีวิตของ Lian Hua เปลี่ยนไปอย่างเลวร้าย เงินเป็นต้นเหตุของความรุนแรงเหล่านั้น เช่น การเป็นหนี้ของพ่อทำให้คนในบ่อนมาเรียกเงินและข่มขืนเธอ เป็นต้น เมื่อมองมาที่สิงคโปร์ ประเทศเล็กที่มีประชากรหนาแน่นมากแต่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ ความอยู่รอดของประเทศมาจากอุตสาหกรรมที่อาศัยวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน การเป็นท่าเรือเป็นที่ค้าขายสิ่งของที่ไม่ใช่ของตน ทั้งนี้เงินตราหรือเศรษฐกิจที่เจริญเติบโตอย่างที่เป็นอยู่นี้ในปัจจุบัน แต่อนาคตอาจไม่แน่นอนไม่มั่นคง (Future Saving) Lian Hua เป็นตัวอย่างของจุดสูงสุดที่เธอได้เป็นนักร้อง Getai สมใจแต่กลับผลิกไปอย่างคาดการณ์ไม่ได้ สิ่งนี้เป็นสารจากภาพยนตร์ให้กับชาวสิงคโปร์ ตัวอย่าง
ในอดีตสิงคโปร์เปลี่ยนแปลงมามากมาย โดยเฉพาะหลังจากนายลี กวน ยู ผู้เปิดประเทศให้สิงคโปร์ได้รับอิสรภาพเมื่อปี 1965
เป็นช่วงเวลาที่สิงคโปร์ต้องฟันฝ่าอุปสรรคปัญหาและสร้างอัตลักษณ์ให้กับประเทศขึ้นมาจนมีความเป็นจีนแสดงออกอยู่มาก ทั้งภาษา ประชากรส่วนใหญ่ และบ้านเมือง กรอบของความอยู่รอดของสิงคโปร์ในปัจจุบันอาจอยู่ที่เงินโดยปราศจากวัตถุหากินอื่น บ้านเมือง
ที่อยู่อาศัยต้องกระจุกตัวอยู่กันอย่างหนาแน่นจากเงินที่เห็นเป็นแค่เพียงตัวเลข ให้เราเกิดคำถามว่า ‘เงินเหล่านี้กำลังทำร้ายคนในประเทศอยู่หรือไม่?’ ทั้งนี้ในบทภาพยนตร์ของ Lian Hua ได้ตั้งคำถามไว้อย่างมีคุณค่าว่า ‘ทำไมเงินสามารถทำให้คนเสื่อมทรามลงไป (corrupt) และทำให้คนทำสิ่งที่โหดร้าย (inhuman) กับคนอื่นได้?’
สัญลักษณ์ที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถสื่อสารได้กับประเด็นที่ยิ่งใหญ่ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของผู้กำกับ Royston Tan และต่างจากภาพยนตร์เรื่องอื่นโดยผ่าน Lian Hua อย่างเช่น กล้องคาเลโดสโคป (Kaleidoscope หรือกล้องสะท้อนภาพจาก
แผ่นกระจก) ที่ Lian Hua เล่นในตอนเด็กดูสวยงามนั้น สื่อได้ถึงสิ่งมายา สีสันที่สร้างขึ้นมาให้เห็นผ่านรูเล็ก ๆ ไม่ใช่ของจริง ดูสวยงามได้ในเวลาสั้น ๆ เราทุกคนต้องเข้าใจโลกนี้ หรือจี้แมลงปอที่พ่อของ Lian Hua ให้เก็บไว้เป็นสิ่งเตือนใจถึงแม่ของ Lian Hua ประกอบกับเป็น
ชาวสิงคโปร์เชื่อว่าแมลงปอเป็นสัตว์ที่สามารถสื่อสารกับคนตายได้ แมลงปอแสดงถึงความเชื่อที่ติดตัวชาวสิงคโปร์ถึงการนึกถึงอดีต รวมถึงการนึกถึงบรรพบุรุษ ในตอนท้ายของเรื่อง Lian Hua ยอมกินจี้นี้เข้าไปไม่ให้โดนขโมยไป ไม่ว่าเธอจะเพี้ยนเสียสติไปแล้ว
แต่จิตใต้สำนึกของเธอไม่ยอมให้ของที่เป็นที่รัก ของที่มีค่ามากสำหรับเธอ และเป็นตัวแทนพ่อแม่นี้กับใคร (Asian Family Values) ทั้งนี้หัวข้อต่าง ๆ อย่างคุณค่าของครอบครัวและความไม่มั่นคงอนาคตในภาพยนตร์เรื่อง ’12 Lotus’ เป็นผลจากนโยบายของรัฐบาลสิงคโปร์
เนื้อหาของภาพยนตร์เรื่องนี้คงสื่อสารถึงคนชาวสิงคโปร์ได้ไม่มากก็น้อย สิงคโปร์มีหลายสิ่งหลายอย่างเป็นกลีบบัวห่อหุ่มเป็นชั้น ๆ จนไม่เห็นเนื้อใน ซึ่งบางกลีบมีทั้งเล็กไปหรือไม่ก็แปดเปื้อนด้วยความกลัว ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้สะท้อนแค่ประเด็นชีวิตอันเลวร้ายของ Lian Hua ที่ใคร ๆ ก็อาจเป็นได้เท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงแง่คิดให้กับทุกคนไว้ว่า สาเหตุของการมีชีวิตที่เลวร้ายนั้นไม่ได้อยู่ที่ประเทศ
ที่เกิด ไม่ได้อยู่ที่พ่อแม่หรือที่ใคร และไม่มีใครควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เวลาเท่านั้นที่จะทำให้เราโตขึ้น เข้าใจมากขึ้น และเห็นแง่มุมที่
ซ่อนอยู่ ทั้งนี้เราทุกคนต้องเปิดใจ ยอมรับความจริงและเรียนรู้ไปพร้อมกัน
นอกจากตัวละคร Lian Hua เปรียบได้กับความเป็นสิงคโปร์แล้ว ข้อสังเกตจากอีกหนึ่งตัวละครที่ชื่อ ‘Astroboy’
Astroboy เป็นชาวไต้หวันที่มีชีวิตคล้ายคลึงกับเธอ Lian Hua ขาดแม่ พ่อกุมชีวิตเธอ ส่วน Astroboy นั้นขาดพ่อและแม่เป็นผู้กุมชีวิตเขา ดังนั้นสารในกลีบบัวจาก Astroboy นี้สื่อได้ว่าเกาะไต้หวันมีลักษณะใกล้เคียงกับสาธารณรัฐสิงคโปร์ ทั้งสองมีตัวตนและมีรากมาจากจีนค่อนข้างมากเหมือนกัน รวมทั้งต้องการอิสรภาพและอยู่เหนือกว่าประเทศอื่นที่อยู่รายรอบ (From Third to First)
เมื่อมีเบื้องหน้าย่อมต้องมีเบื้องหลัง เบื้องหลังของภาพยนตร์เรื่องนี้ ข้อสังเกตหนึ่งคือนักแสดงอย่าง Li Bao-En ที่แสดงเป็น
Liu Lian Hua ตอนเด็ก เธอเป็นชาวมาเลเซียและเป็นนักร้อง Getai ในมาเลเซีย Li Bao-En แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ผูกพันกันระหว่างประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ โดยมีวัฒนธรรมเป็นตัวเชื่อมคือ ภาษาจีนสำเนียงฮกเกี้ยนและการแสดง Getai
ข้อสังเกตถัดมา จากบทเพลง ‘12 Lotus’ ที่ผู้กำกับ Royton Tan ได้ฟังตั้งแต่เด็ก Royton Tan ได้นำวัฒนธรรม Getai และภาษาจีนสำเนียงฮกเกี้ยน (สำเนียงที่พูดกันมากเฉพาะมณฑลฮกเกี้ยนในและเกาะไต้หวัน) ซึ่งทั้งสองเป็นวัฒนธรรมย่อย (Subculture)
ที่ใช้ในสังคมชนชั้นกลางและล่าง (Middle Class and Low Class) ของสิงคโปร์ เมื่อได้นำบทเพลง ’12 Lotus’ มาสร้างสรรค์เป็นภาพยนตร์เรื่อง ’12 Lotus’ ถือเป็นการตีแผ่สังคมหน่วยเล็ก ๆ ของสิงคโปร์ ภาพยนตร์ ’12 Lotus’ บ่งบอกความเป็นตัวของ Royston tan เอง (Personal Creative Vision) ด้วยศิลปะทั้งการร้อง การเต้น และการแสดง Getai ทั้งหมดนี้ได้แสดงถึงความเป็น Auteur อย่างชัดเจนส่งผลต่อภาพยนตร์ในยุคปัจจุบันนี้ และ Royston Tan ก็ได้รับรางวัลที่รัฐบาลสิงคโปร์สนับสนุนคือ รางวัล Silver Screen Award 2009 สาขา Best Singapore Director ด้วย
จากความข้างต้นจะเห็นได้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังของภาพยนตร์เรื่องนี้ยิ่งใหญ่ ผู้กำกับ Royston Tan ได้ตีแผ่ทั้งฉากหลังของนักร้อง Getai จากตัวละคร ‘Lian Hua’ ที่ต่างจากสิ่งที่เห็นเบื้องหน้า และสื่อข้อความผ่านภาพยนตร์หรือศิลปะแขนงที่เจ็ดนี้ ในดอกบัวหรือสาธารณรัฐสิงคโปร์นี้มีสิ่งที่ซ่อนอยู่ (Invisible Layers) เป็นชั้นต่าง ๆ ที่อาจมองไม่เห็น ประเทศนี้ช่างแตกต่างกับภาพลักษณ์ที่เห็นและสร้างขึ้นว่าเป็นชาติที่แข็งแกร่งในเศรษฐกิจ เป็นประเทศพัฒนาที่ล้อมรอบด้วยประเทศโลกที่สาม และเป็นอิสระจากประเทศ
อื่น ๆ ทั้งหมดนี้ซ้อนอยู่ในภาพยนตร์เรื่อง ‘12 Lotus’ เป็นดอกบัวดอกหนึ่ง เป็นดอกบัวแห่งสิงคโปร์ที่ได้โผล่พ้นน้ำมาแล้วหลังจากได้รับเอกราช และเป็นดอกบัวที่เฝ้ารอเวลาให้ชีวิตได้เติบโต ต่อไปดอกบัวนี้จะเบ่งบานแผ่กลีบให้เห็นความสวยงามทั้งหมดอย่างชัดเจน
Bibliography
"Getai." Available at: http://en.wikipedia.org/wiki/Getai. 16 December 2009.
"ประเทศสิงคโปร์" Available at: http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศสิงคโปร์. 1 มกราคม 2553.
"ภาษาจีนสำเนียงฮกเกี้ยน" Available at: http://cyberjoob.multiply.com/journal/item/27/27. 3 พฤศจิกายน 2550.
"Auteur theory" Available at: http://en.wikipedia.org/wiki/Auteur. 4 December 2009
"Royston Tan" Available at: http://en.wikipedia.org/wiki/Royston_Tan. 25 December 2009
"เจ้าแม่กวนอิม" Available at: http://th.wikipedia.org/wiki/เจ้าแม่กวนอิม. 1 พฤศจิกายน 2552
‘’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น